จิงโจ้ต้นไม้ อยู่โดดเดี่ยวเดียวดายหนึ่งเดียวในสวนสัตว์สิงค โปร์ หลังจากบ้านเกิดเมืองนอนเดิมในปาปัวนิวกินีสภาพป่าถูกทำลายไปมาก จากการลักลอบตัดไม้มานาน แต่ตอนนี้ทางปาปัวฯ เริ่มคิดได้ จึงจัดพื้นที่ป่าส่วนหนึ่งขนาดเท่าประเทศสิงคโปร์เป็นเขตอนุรักษ์ เพื่อรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่หายาก อย่างเจ้าจิงโจ้ต้นไม้ตัวนี้ และสัตว์ป่าอื่นๆ
วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ไอโซพอด
ไอโซพอด (Isopod) เป็นสัตว์จำพวกครัสเตเชียนกลุ่มที่มีความหลากหลายมากที่สุดชนิดหนึ่ง พบอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมทุกรูปแบบ แต่จะพบได้มากที่สุดในทะเลน้ำตื้น สัตว์กลุ่มนี้มีความแตกต่างไปจากครัสเตเชียนส่วนใหญ่ เพราะสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมบนบกได้ดี (อันดับย่อย Oniscidia ได้แก่ เหาไม้ และแมลงสาบทะเล) แม้ว่าพบได้หลากหลายที่สุดในทะเลลึกก็ตาม (อันดับย่อย Asellota) มีหลายสปีชีส์ในจีนัส Cymothoa ที่ดำรงชีวิตเป็นปรสิตในช่องปากของปลา รู้จักกันในชื่อว่า "ตัวกัดลิ้น (Tongue biter)" สัตว์ในกลุ่มไอโซพอดจัดว่าเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่พบฟอสซิลตั้งแต่ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส (อันดับย่อย Phreatoicidea วงศ์ Paleophreatoicidae) ซึ่งแตกต่างเพียงเล็กน้อยไปจากกลุ่ม Phreatoicidean ยุคใหม่ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทางซีกโลกใต้
วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ปฏิชีวนะสารของมด ช่วยรักษาโรคติดเชื้อราในคน
พบว่า สารที่มดขับออกมามีฤทธิ์เป็นปฏิชีวนะสารเรียกว่า เมตาพูลริน (metapleurin) ซึ่งมดใช้ในการป้องกันการติดเชื้อราและแบคทีเรีย สารนี้มีคุณสมบัติเป็นไขมัน ซึ่งแตกต่างจากยาปฏิชีวนะอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง
นักชีววิทยาชาวออสเตรเลียได้ค้นพบว่า มดผลิตปฏิชีวนะสารเพื่อการควบคุมโรคในบริเวณที่อยู่อาศัย จากการทดลองของโรงพยาบาลแห่งนครซิดนีย์ได้พบว่า ปฏิชีวนะสารเหล่านี้มีฤทธิ์กว้างขวาง สามารถทำลายจุลินทรีย์ได้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคในคน เช่น เชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans)
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับมดหลายเชื้อสาย เพราะเขาสนใจว่าทำไมมดจึงไม่มีส่วนช่วยในการผสมดอกไม้ในขณะที่ผึ้งและตัวต่อซึ่งเป็นแมลงที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันช่วยในการผสมเกสรดอกไม้ ในที่สุดนักวิทยาศาสตร์พบว่า เกสรดอกไม้จะตายไปเมื่อสัมผัสกับตัวมดอันเนื่องมาจากสารที่ถูกขับถ่ายออกมาจากต่อมบริเวณทรวงอกของมดที่เรียกว่า ต่อมเมตาพูลรอล (metapleural glands)
เมื่อได้ศึกษาต่อไปจึงพบว่า สารที่มดขับออกมามีฤทธิ์เป็นปฏิชีวนะสารเรียกว่า เมตาพูลริน (metapleurin) ซึ่งมดใช้ในการป้องกันการติดเชื้อราและแบคทีเรีย สารนี้มีคุณสมบัติเป็นไขมัน ซึ่งแตกต่างจากยาปฏิชีวนะอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง เมตาพูลรินนี้มีฤทธิ์ข้างเคียงที่สำคัญ คือ ทำให้เกสรดอกไม้เหี่ยวเฉาและตายไป
จากการศึกษาพบว่า มีมดเพียงเชื้อสายเดียวที่ไม่มีต่อมเมตาพูลรอล มดชนิดนี้จึงมีหน้าที่ช่วยในการผสมเกสรดอกไม้ได้อย่างสำคัญ นั่นคือ สามารถช่วยในการผสมเกสรกล้วยไม้ได้ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าฤทธิ์ของเมตาพูลรินต่อแบคทีเรียชนิดต่างๆ มากกว่า 300 ชนิด ให้ผลแตกต่างกันไป และมีฤทธิ์ทำลายเชื้อสแตฟฟีโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียก่อโรคจำพวกฝีหนองที่สำคัญได้ดี
บริษัทยาในประเทศอังกฤษได้ให้ความสนใจต่อฤทธิ์ของเมตาพูลรินที่สามารถทำลายเชื้อราได้ บริษัทยาได้เรียกร้องให้พิสูจน์ว่า เมตาพูลรินสามารถทำลายเชื้อราได้จริงๆ และจากผลการทดลองของโรงพยาบาลเวสต์มีคพิสูจน์ว่า เมตาพูลรินมีฤทธิ์ทำลายเชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ได้ผลดีมาก และขณะนี้กำลังศึกษาฤทธิ์ของยานี้ต่อเชื้อราชนิดอื่นๆ ต่อไป
นักชีววิทยาชาวออสเตรเลียได้ค้นพบว่า มดผลิตปฏิชีวนะสารเพื่อการควบคุมโรคในบริเวณที่อยู่อาศัย จากการทดลองของโรงพยาบาลแห่งนครซิดนีย์ได้พบว่า ปฏิชีวนะสารเหล่านี้มีฤทธิ์กว้างขวาง สามารถทำลายจุลินทรีย์ได้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคในคน เช่น เชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans)
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับมดหลายเชื้อสาย เพราะเขาสนใจว่าทำไมมดจึงไม่มีส่วนช่วยในการผสมดอกไม้ในขณะที่ผึ้งและตัวต่อซึ่งเป็นแมลงที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันช่วยในการผสมเกสรดอกไม้ ในที่สุดนักวิทยาศาสตร์พบว่า เกสรดอกไม้จะตายไปเมื่อสัมผัสกับตัวมดอันเนื่องมาจากสารที่ถูกขับถ่ายออกมาจากต่อมบริเวณทรวงอกของมดที่เรียกว่า ต่อมเมตาพูลรอล (metapleural glands)
เมื่อได้ศึกษาต่อไปจึงพบว่า สารที่มดขับออกมามีฤทธิ์เป็นปฏิชีวนะสารเรียกว่า เมตาพูลริน (metapleurin) ซึ่งมดใช้ในการป้องกันการติดเชื้อราและแบคทีเรีย สารนี้มีคุณสมบัติเป็นไขมัน ซึ่งแตกต่างจากยาปฏิชีวนะอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง เมตาพูลรินนี้มีฤทธิ์ข้างเคียงที่สำคัญ คือ ทำให้เกสรดอกไม้เหี่ยวเฉาและตายไป
จากการศึกษาพบว่า มีมดเพียงเชื้อสายเดียวที่ไม่มีต่อมเมตาพูลรอล มดชนิดนี้จึงมีหน้าที่ช่วยในการผสมเกสรดอกไม้ได้อย่างสำคัญ นั่นคือ สามารถช่วยในการผสมเกสรกล้วยไม้ได้ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าฤทธิ์ของเมตาพูลรินต่อแบคทีเรียชนิดต่างๆ มากกว่า 300 ชนิด ให้ผลแตกต่างกันไป และมีฤทธิ์ทำลายเชื้อสแตฟฟีโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียก่อโรคจำพวกฝีหนองที่สำคัญได้ดี
บริษัทยาในประเทศอังกฤษได้ให้ความสนใจต่อฤทธิ์ของเมตาพูลรินที่สามารถทำลายเชื้อราได้ บริษัทยาได้เรียกร้องให้พิสูจน์ว่า เมตาพูลรินสามารถทำลายเชื้อราได้จริงๆ และจากผลการทดลองของโรงพยาบาลเวสต์มีคพิสูจน์ว่า เมตาพูลรินมีฤทธิ์ทำลายเชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ได้ผลดีมาก และขณะนี้กำลังศึกษาฤทธิ์ของยานี้ต่อเชื้อราชนิดอื่นๆ ต่อไป
เปลือกผลไม้ให้ประโยชน์
คนไหนที่เคยบอกว่า...เปลือกผลไม้ปอกทิ้งไปเลย-ไม่มีประโยชน์อะไร...คุณคงต้องเปลี่ยนความคิดเสียใหม่แล้ว!! เพราะอันที่จริงผลไม้หลายชนิด ที่เราไม่เคยกินเปลือกของมันนั้น ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์แฝงอยู่ในตัวของมัน เช่น...
เปลือกสับปะรด
สามารถสามารถแปลงโฉมภาชนะทองเหลืองของคุณให้ดูสะอาดเอี่ยมราวกับซื้อมาใหม่ โดยนำเอาภาชนะพวกทองเหลืองหรือเครื่องเงินลงแช่ในน้ำใส่เปลือกสับปะรดลงไปให้มิดทิ้งไว้สักหนึ่งคืนก่อนที่จะนำมาล้างให้สะอาดด้วน้ำธรรมดา
เปลือกทุเรียน
ไม่ใช่จะเอาไว้สำหรับให้แม่ค้าขว้างใส่หน้านางอิจฉาที่หลงมาเดินที่ตลาดนะ... แต่เปลือกทุเรียนยังสามารถเอามาใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนถ่านไหม้ได้ เพียงแค่นำไปตากให้แห้งไม้ได้ หรือเวลาที่คุณกินทุเรียนแล้วเกิดอาการร้อนใน ก็ลองดื่มน้ำที่รินใส่เปลือกทุเรียนผสมกับเกลือเล็กน้อย อาการก็จะบรรเทาลง นอกจากนั้นน้ำที่ใส่ในเปลือกทุเรียนหากเอามาล้างมือล้างปากก็สามารถแก้กลิ่นทุเรียนที่ติดอยู่ได้อีกด้วย...
เปลือกส้มโอ
นอกจากจะมีประโยชน์โดยการเอาไปทำส้มโอเชื่อมและส้มโอมือแล้ว ยังสามารถนำไปขัดภาชนะที่ทำจากอะลูมิเนียมให้มีความใสและมันวาวได้อีกด้วย แต่ต้องนำเปลือกส้มโอมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในน้ำเดือดประมาณ 20 นาที ก่อนที่จะนำเปลือกส้มโอที่ต้มแล้วมาขัดถูภาชนะพร้อมกับสบู่ แค่นี้เครื่องครัวของคุณก็จะแวววาวสดใสโดยไม่ต้องเปลืองตังค์ไปซื้อน้ำยาราคาแพง
เปลือกส้มเขียวหวาน
นอกจากจะไว้ดื่มกินเพื่อความสดชื่นแบบนางเอ๊กนางเอกแล้ว... เปลือกส้มสามารถกำจัดยุงได้! เพียงแค่นำไปตากให้แห้งสักแดดสองแดด นำมาสุมไฟไล่ยุงได้เป็นอย่างดีไม่มีสารตกค้าง และไม่เป็นอันตรายอีกด้วย
เปลือกกล้วย
ช่วยทำให้ผิวชุ่มชื่นได้ดี เพียงคุณใช้เปลือกกล้วยล้างน้ำให้สะอาดแล้วใช้ถูกับมือ ข้อเท้า ขา หรือใบหน้าก็ได้ นอกจากจะทำให้ผิวชุ่มชื่นไม่แห้งกร้านแล้วยังทำให้ผิวนุ่ม นอกจากนั้นเปลือกล้วยน้ำว้าสามารถนำไปขัดรองเท้าได้ดีพอๆกับน้ำยาขัดรองเท้าด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)