วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554


วันขึ้นปีใหม่


วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี
ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า
ปีอธิกสุรทิน
เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน
และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันวสันตวิษุวัติ (Equinox in March)
แต่ในปี พ.ศ. 2125 วันวสันตวิษุวัติ กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น
สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรโกเรียน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้น

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ญี่ปุ่นผุด "แฮมเบอร์เกอร์" ทำจาก "ขี้"

ปัจจุบันอัตราการเพิ่มประชากรทั่วโลกต่อปีอยู่ที่ 130 ล้านคน (เฉลี่ย 4 คนต่อวินาที) นั่นหมายความว่า ความต้องการในการบริโภคก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไป ทรัพยากรบนโลกก็อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภคก็เป็นได้ เทคโนโลยีส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผลผลิตต่างๆ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และเติบโตรวดเร็วทันต่อความต้องการดังกล่าว


อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งกำลังมองว่า วิธีดังกล่าวก็อาจจะยังไม่ทันต่อความต้องการบริโภคในอนาคต การรีไซเคิลจึงเป็นอีกทางออกหนึ่งในการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นรายนี้ มุ่งประเด็นไปที่ของเสียที่ร่างกายขับถ่าย (อุนจิ - -") ซึ่งเขาพบว่า มันมีส่วนประกอบของสารอาหารที่สามารถนำมารีไซเคิล เพื่อนำกลับมาทำเป็นอาหารที่รับประทานได้ : ล่าสุดที่มีวิจัยได้สังเคราะห์"เนื้อเทียม"จากอุนจิ เพื่อนำมาใส่ในแฮมเบอร์เกอร์ และใช้รับประทานได้


Mitsuyuki Ikeda นักวิจัยจากศูนย์ประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมในโอกายามา เขามีความต้องการที่จะช่วยแก้วิกฤติปัญหาการขาดแคลนอาหารที่เกิดขึ้นกับโลกใบนี้ ด้วยการีไซนเคิล"อุนจิ" เพื่อเปลี่ยนไปเป็นเบอร์เกอร์ที่รับประทานได้ โดยเนื้อที่ได้จะไม่เหมือนเนื้อจริงๆ แต่เป็นการแยกส่วนประกอบจากของเสีย ซึ่งประกอบด้วย โปรตีน 63% คาร์โบไฮเดรท 3% สารอินทรีย์ประเภทไขมัน และเกลือแร่ 9% ซึ่ง Ikeda เรียกสารตั้งต้นในการรีไซเคิลเป็นอาหารนี้ว่า "sewage mud" (โคลนปฏิกูล) ฟังดูดีกว่าเดิมนิดนึง พร้อมทั้งเปิดเผยว่า ตอนนี้เขาเก็บ อุนจิ เอ่อ...ไม่ใช่สิต้องเรียกว่า โคลนปฏิกูลของเขาเอาไว้ เผื่อว่า วันหนึ่งมันจะกลายเป็นของขายได้ หากต้นทุนการผลิตเนื้อเทียมจากอุนจิลดลง เอ่อ...คุณผู้อ่านล่ะ คิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ ถ้าเป็นจริง...คุณจะกล้ารับประทาน หรือไม่?

แม้ว่าในปีนี้เครื่องดนตรีที่ชื่อ อูคูเลเล่ จะกลายมาเป็นเครืองดนตรียอดฮิตของกลุ่มคนชอบดนตรีแต่ก็ยังมีอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่รู้จัก บางคนก็ยังงวยงงสงสัยว่าทำไมเจ้ากีตาร์ชนิดนี้มันถึงได้เล็กกระจิดริด แถมยังมีแค่สี่สายเท่านั้นแน่นอนเรากำลังจะพูดถึงเจ้าเครื่องดนตรีที่เรียกกันว่า อูคูเลเล่ เจ้ากีตาร์จิ๋วจากดินแดนฮาวาย ที่มีลักษณะเสียงกังวานสดใสราวกับเสียงคลื่นซัดหาดทราย เราอาจจะคุ้นตากันบ้างในเป็นภาพยนตร์เพลงที่ถ่ายทำในบรรยากาศชายทะเลหลายต่อหลายเรื่อง รวมทั้งในมิวสิควิดีโอที่ปัจจุบันนี้เพลงไทยก็ยังนำเครื่องดนตรีชนิดนี้มาบรรเลงเยอะแยะมากมายจากข้อมูลในวิกิพีเดียบอกว่า เจ้าอู1เล หรือ ukulele มีกำเนิดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยชาวฮาวายซึ่งนำเอากีตาร์น้อย ประเภท กาวักกีโญ (cavaquinho) กับราเคา (rajão) มาประสมกัน กีตาร์น้อยทั้งสองนี้ชาวโปรตุเกสซึ่งอพยพเข้ามาในสหรัฐอเมริกาได้นำมาสู่ฮาวายในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 อู1เลเลได้รับความนิยมเป็นอันมากภายนอกสหรัฐอเมริกา และนับจากนั้นก็แพร่หลายทั่วไปแนวและระดับเสียงของอู1เลเลนั้นแล้วแต่ขนาดและโครงสร้างของมัน ซึ่งปรกติมักทำเป็นสี่ขนาด คือ โซปราโน,กงแซร์, เทอเนอร์ และแบริโทนในเมืองไทยนั้นยังไม่มีนักดนตรีที่ออกมาประกาศว่าเป็น “เซียนอูคูเลเล่” ให้เห็นประจักษ์กันเท่าไดนัก

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

รับมือกับอากาศเปลี่ยนแปลง

อาการเหนื่อยเพลียเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงไม่ใช่โรค แต่คนจะรู้สึกเหมือนกับว่าร่างกายกำลังปรับตัวกับอากาศที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ ดร.ฟรัง เฟ็กเทเลอร์ แพทย์ชาวเยอรมัน จากเมืองเบอร์ลิน กล่าวว่า เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง ร่างกายเราต้องการเวลาในการปรับตัวประมาณ 2-3 สัปดาห์ ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ไวกับอากาศเปลี่ยนแปลงก็คือ


1. เข้านอนเร็วขึ้น เพื่อจะได้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

2. ดื่มน้ำให้มาก เนื่องจากความดันโลหิตต่ำ จะทำให้ง่วงเพลีย และการขาดน้ำก็ทำให้มีอาการดังกล่าวเหมือนกัน

3. ออกกำลังกาย ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดีที่สุด การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เช่น จ็อกกิ้ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือหากมีเวลาเมื่อตื่นนอนก็ควรยืดเส้นยืดสายบนเตียงนอนก่อนลุกขึ้นทำกิจธุระ

4. อาบน้ำเย็นสลับน้ำอุ่น หากจำเป็นต้องตื่นแต่เช้า งัวเงีย ไม่อยากขยับตัวเลย ลองอาบน้ำเย็นๆ ก่อน รับรองว่าจะตาสว่างทันที หรือราดน้ำเย็นที่แขนและขาเท่านั้นก็ได้นะ

5. กินอาหารย่อยง่าย ไม่ควรกินอาหารย่อยยาก เพราะมันจะเป็นภาระแก่ร่างกาย

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

๕ ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ

พ่อ ความหมายตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกหรือ คำที่ลูกเรียกชายที่ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูตนดังนั้น พ่อจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อลูก ครอบครัวและสังคม จึงสมควรที่จะยกย่องให้เกียรติ รำลึกถึงพระคุณของผู้เป็นพ่อ รวมถึงต้องแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้เป็นพ่อ อีกทั้งเพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่ และความรับผิดชอบของตน ที่พึงมีต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ จึงได้กำหนดให้วันที่ ๕ ธันวาคม เป็นวันพ่อแห่งชาติเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพ่อของปวงชนชาวไทย วันพ่อ ได้จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา เป็นผู้ริเริ่ม