วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Sophie Marceau


Sophie Marceau (French pronunciation: [sɔfi maʁso]; born 17 November 1966) is a French actress, who has appeared in 35 films. During her teens, Marceau achieved popularity by her debut films La Boum (1980) and La Boum 2 (1982), for which she received a César Award for Most Promising Actress. In addition to her French language films, she has worked in international films such as Braveheart (1995) and as the main antagonist Elektra King in The World Is Not Enough (1999).

Early life

Marceau was born Sophie Danièle Sylvie Maupu in Paris, France, the second child of Simone (née Morisset), a shop assistant, and Benoît Maupu, a truck driver.[1][2] The family lived a working-class existence that left Marceau with generally fond memories of childhood. During the week, she helped at the family restaurant. She spent weekends with her family in La Cabane, a small house in Vert-le-Petit in the department Essonne. Her parents divorced when she was nine.[3]

Career

In February 1980, Marceau and her mother came across a model agency looking for teenagers. Marceau had photos taken at the agency but did not think anything would come of it. At the same time, Françoise Menidrey, the casting director for Claude Pinoteau's La Boum (1980), asked modeling agencies to recommend a new teenager for the project. After viewing the rushes, Alain Poiré, the director of the Gaumont Film Company, signed Marceau to a long-term contract. La Boum was a hit not only in France, where 4.5 million tickets were sold, but several other European countries and Japan.
In 1981, Marceau made her singing debut with French singer François Valéry on "Dream in Blue," written by Delanoë.

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของขิงกับความสวยงาม

ขิงนั้นนอกจากเพิ่มความเอร็ดอร่อยและรสชาติให้กับอาหารตลอดจนรับประทานเพื่อขับลมและแก้คลื่นไส้แล้ว ขิงยังมีประโยชน์ในทางเสริมสวยด้วย ความเผ็ดร้อนอันเป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งของขิง ซึ่งแม้จะไม่เท่าความเผ็ดร้อนของพริกก็ตาม สามารถนำมาใช้บนผิวหนังคนเราได้ เพื่อช่วยลดอาการผิวกักไขมันเซลลูไลท์ และช่วยเรื่องผมร่วง

สมุนไพรสดสำหรับขัดตัวของญี่ปุ่นตำรับหนึ่งคือขิง เขานำขิงสดมาขูดให้ละเอียดเป็นฝอย แล้วนวดลงไปบนต้นขาและก้นส่วนที่เป็นเซลลูไลท์ ในตำรับเขาว่ามันช่วยถอนพิษสงของไขมันที่มีลักษณะเหมือนผิวส้มเหล่านี้ให้กระจายตัว เป็นการช่วยทำให้เนื้อที่ดูขรุขระเป็นปั้น ๆ ตรงนั้นเรียบขึ้น และเนื้อบริเวณนั้นก็จะเนียนขึ้น

คนจีนรุ่นที่ไม่สนใจวิตามินใส่ผมสมัยใหม่ ก็ตัดแง่งขิงออกมา แล้วใช้ส่วนที่เป็นเนื้อขิงถูหนังศีรษะเพื่อแก้และกันผมร่วงนอกจากนั้น เขายังทำน้ำมันบำรุงเส้นผมและแก้รังแค โดยใช้น้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะอุ่นร้อน และใช้ขิงคั้นเอาแต่น้ำ 2 ช้อนชาผสมลงไปคนให้เข้ากันนวดใส่หนังศีรษะ เอาหมวกพลาสติกคลุม แล้วใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นจัด ๆ บิดให้ชื้น คลุมศีรษะไว้ครึ่งชั่วโมง จึงสระออกด้วยแชมพูตามปกติ

เวลาเข้าหน้าหนาว เขามีวิธีกันหวัด ด้วยการขูดขิงสด หรือใช้ชาขิง หรือขิงแห้งที่ป่นละเอียดแล้ว ปริมาณไม่ต้องมากมายนัก โรยใส่ในกะละมังน้ำอุ่น เติมน้ำผึ้งลงไปด้วย 2 ช้อนโต๊ะ แล้วแช่เท้า กลิ่นมันจะหอมแบบทำให้จมูกโล่ง ศีรษะโล่ง และกระตุ้นให้ร่างกายสู้กับหวัดเวลาคุณแม่ดิฉันปวดข้อหรือปวดศีรษะ เห็นท่านต้มน้ำขิง แล้วจุ่มผ้าลงไปเพื่อนำขึ้นมาประคบตามข้อและศีรษะ ทีแรกดิฉันก็ไม่ศรัทธา เพราะคุณรุ่นเราชินกับการกินยาแก้ปวดรวดเร็ว ส่วนท่านนั้นไม่ค่อยจะยอมรับประทานยาสมัยใหม่ ท่านยอมเสียเวลาเพิ่มขึ้นสักหน่อยก็พอแก้ไขอาการเจ็บปวดของท่านไปได้ ท่านมีชีวิตอยู่จนถึง 94 ปี และมีสติกับความจำดีกระทั่งนาทีสุดท้าย

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

"เทศกาลเลมอน"ไอเดียแปลง" ส้มและมะนาว"สุดเก๋ ที่ใครเห็นแล้วต้อง ทึ่ง!
งาน "Fete du Citron" หรือนั่นก็คือ เทศกาลเลมอน ซึ่งจัดต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 77 แล้ว ที่เมือง มองตง ทางใต้ของฝรั่งเศส

ดูออกไหมเอ่ย ว่าไดโนเสาร์ตัวนี้สร้างจากเลมอนและส้ม

งานนี้ ชาวเมืองมองตง เขาใช้ส้มและมะนาว นับแสนนับล้านลูกมาจัดตกแต่ง สร้างสรรค์เป็นรูปต่างๆ ตามแต่การครีเอทของเจ้าของผลงานเขาล่ะ งานนี้เหลืองอร่าม ส้มแจ๊ดแสบตาแต่ลงตัวสุดๆ เลยล่ะ จึงไม่แปลกใจว่า มองไปที่ผลงานไหน ชิ้นอะไรก็ดูเลิศไปซะหมด เพราะพวกเขาตั้งใจทำกันซะสมจริงสมจังขนาดนี้
อย่างไรก็ตาม "เทศกาลเลมอน" นี้ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 ก.พ. ยาวไปจนถึง 3 มี.ค. เดือนหน้านู่นแน่ะ
ถ้าอย่างนั้นแล้ว เรามาดูรูปสวยๆ ที่เกิดจากการสร้างสรรค์โดยเจ้าผลไม้เหล่านี้กันดีกว่า...ขอบอกว่า สุดยอด!!!








วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เกียจคร้านเป็นโรค ก่อความเสียหายอย่างร้ายแรง ยิ่งกว่าไขมัน
Pic_103811
ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์เรียกร้องให้ถือว่า ความเกียจคร้านเป็นโรคภัยอย่างหนึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของอังกฤษ 2 นาย หมอริชาร์ด ไวเลอร์ และเอมมานูเอล สตามากิส ได้อ้างเหตุผลว่า เพราะความเกียจคร้านเกี่ยว พันถึงการเจ็บการตายอยู่อย่างสำคัญอยู่แล้ว "เราจึงเสนอว่า บางทีการไม่ขยับเขยื้อนเคลื่อน ไหวร่างกาย ควรจะถือว่า เป็นโรคภัยอย่างหนึ่งได้ในตัวของมันเอง"หมอริชาร์ดอาจารย์ด้านกีฬาและการออก กำลัง สำนักบริการดูแลสุขภาพ มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ อ้างต่อไปว่า องค์การอนามัยโลกยังจัดให้ความอ้วนอยู่ในประเภทโรคชนิดหนึ่ง ทั้งที่ความอ้วนเองเป็นผลบางส่วนของต้นเหตุ นั่นคือ การออกกำลังที่ไม่เพียงพอ "เราทุ่มเงินทุ่มทองลงไปในการบำบัดรักษาอาการอันเกิดจากความเกียจคร้านต่างๆ ตั้งแต่ โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ แต่ไม่แก้ที่ต้นตอ ทั้งที่มีหลักฐานแสดงว่า ความอ่อนแอเป็นราก ฐานของโรคภัยต่างๆ มากยิ่งกว่าไขมัน"เขายังกล่าวว่า การศึกษาครั้งล่าเมื่อเร็วๆนี้ แสดงให้เห็นว่า มีคนแค่ เพียง 1 ใน 20 เท่านั้นที่ปฏิบัติตามคำแนะนำให้ออกกำลังขั้นต่ำที่สุด แต่ก็ยังหามีแผนการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ขึ้นไม่.

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Salad


This article is about the type of culinary dish. For other uses, see Salad is any of a wide variety of dishes including: vegetable salads; salads of pasta, legumes, eggs, or grains; mixed salads incorporating meat, poultry, or seafood; and fruit salads.[1] They include a mixture of cold and hot, often including raw vegetables or fruits.Green salads include leaf lettuce and leafy vegetables with a sauce or dressing. Other salads are based on pasta, noodles, or gelatin. Most salads are traditionally served cold, although some, such as south German potato salad, are served warm.Green salads including leaf lettuces are generally served with a dressing, as well as various garnishes such as nuts or croutons, and sometimes with the addition of meat, fish, pasta, cheese, eggs, or whole grains.


Salads may be served at any point during a meal. They may be:

-Appetizer salads, light salads to stimulate the appetite as the first course of the meal.
- Side salads, to accompany the entrée as a side dish.
- Entrée salads, served as the main dish, usually containing a portion of protein, such as chicken breast or slices of beef.
-Palate-cleansing salads, to settle the stomach after the main course.
- Dessert salads, sweet versions usually containing gelatin or whipped cream.

History

Food historians say the Romans ate mixed greens and dressing, and the Babylonians were known to have dressed greens with oil and vinegar two thousand years ago.[3][4][5] In his 1699 book, Acetaria: A Discourse on Sallets, John Evelyn attempted with little success to encourage his fellow Britons to eat fresh salad greens.[6] Royalty dabbled in salads: Mary, Queen of Scots, ate boiled celery root over salad covered with creamy mustard dressing, truffles, chervil, and slices of hard-boiled eggs.[4]
The United States popularized salads in the late 19th century and other regions of the world adopted them throughout the second half of the 20th century. From Europe and the Americas to China, Japan, and Australia, salads are sold commercially in supermarkets for those who do not have time to compose a home-made salad, at restaurants (restaurants will often have a "Salad Bar" laid out with salad-making ingredients, which the customer will use to put together their salad) and at fast-food chains specializing in health food. In the US market, fast-food chains such as McDonald's and KFC, that typically sold "junk food" such as hamburgers, fries, and fried chicken, now sell packaged salads to appeal to the health-conscious.


Types of salads



















เนยแข็ง

เนยแข็ง หรือ ชีส (อังกฤษ: cheese) คือ ผลิตภัณฑ์จากนมซึ่งสามารถผลิตได้จากนมวัวหรือแพะ เป็นต้น ที่ผ่านกระบวนการคัดแยกโปรตีน แล้วนำโปรตีนของนมมาทำการผสมเชื้อรา หรือแบคทีเรีย หรือสารอื่นๆ แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของเนยแข็ง ซึ่งแตกต่างจากเนยที่ทำมาจากไขมันของนม
เนยแข็งเป็นอาหารที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน โดยมีปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนที่สุดใน
คัมภีร์ไบเบิล กลุ่มนักรบทหารโรมันเป็นบุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ให้คนทั่วโลกได้รู้จักเนยแข็ง เพราะไม่ว่าจะยกทัพไปที่ใดก็มักจะนำเนยแข็งไปด้วยเสมอและมักจะแบ่งปันเนยแข็งที่มีให้กับคนท้องถิ่นนั้นๆ โบสถ์จัดว่าเป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเนยแข็งที่เด่นชัดที่สุดในสมัยกลาง การจำหน่ายเนยแข็งเพื่อหารายได้เข้าโบสถ์ของบาทหลวงในศาสนาคริสต์ส่งผลให้เกิดเนยแข็งแบบดั้งเดิมที่มีเฉพาะในแต่ละท้องถิ่น และในเวลาต่อมาเนยแข็งท้องถิ่นนี้ได้ถูกพัฒนาปรับปรุงรสชาติให้มีความหลากหลาย จนในปัจจุบันมีเนยแข็งมากกว่า 3,000 ชนิด ซึ่งคนไทยมักมีความเข้าใจผิดว่าเนยแข็งและเนยเหลวเป็นอาหารประเภทไขมันเช่นเดียวกัน อันที่จริงแล้วเนยแข็งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโปรตีนในน้ำนมวัว ในขณะที่เนยเหลวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไขมันในน้ำนมวัว ดังนั้นเนยแข็งจึงจัดเป็นอาหารจำพวกโปรตีนเหมือนเนื้อสัตว์ และมีคุณค่าทางโภชนาการไม้แพ้น้ำนมวัว เนยแข็งให้สารอาหารจำพวก แคลเซียม โปรตีน ฟอสฟอรัส วิตามินบี 12 สังกะสี และไขมัน แต่ให้น้ำตาลแลคโตสในปริมาณที่น้อยกว่าในน้ำนม ผู้ที่มีปัญหาในการดื่มนมจึงสามารถหันมารับประทานเนยแข็งแทนเป็นทางออกแทนได้ แม้การรับประทานเนยแข็งจะเป็นวัฒนธรรมของต่างชาติแต่ในปัจจุบันนี้เนยแข็งก็เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อวงการอาหารไทย ดังนั้นเราจึงควรรู้จักเลือกรับประทานเนยแข็งโดยเลือกทานชนิดที่มีไขมันต่ำและบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมก็จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ชีสมีรากศัพท์มาจากคำภาษาละตินว่า caseus รากศัพท์ caseus ในภาษาละตินนี้เป็นรากศัพท์ของคำว่าเนยแข็งในภาษาอื่นๆอีกมากมาย เช่น queso ใน ภาษาสเปน queijo ในภาษาโปรตุเกส keju ในภาษามาเลย์ cacio ในภาษาอิตาลี เป็นต้น caseus มีความเกี่ยวข้องและใกล้เคียงกับคำว่า casein ในปัจจุบัน ศัพท์คำนี้มีความหมายถึง ก้อนโปรตีนที่ได้จากน้ำนมวัวซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนยแข็ง เนยแข็ง หรือ ชีส (Cheese) เป็นสิ่งที่คนไทยมักจะเรียกว่า เนย ด้วยความเข้าใจผิด เพราะเห็นว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากนมเหมือนกัน ดังนั้นจึงคิดเข้าใจว่าเป็นอาหารประเภทเดียวกัน ในความเป็นจริงแล้วเนยแข็งไม่ถือว่าเป็นเนย เพราะเนยแข็งเป็นการนำเอาส่วนโปรตีนของนมมาใช้แปรรูป ต่างจากเนยที่นำเอาส่วนของไขมันมาใช้ ดังนั้นในทางโภชนาการเนยและเนยแข็งจึงจัดว่าเป็นอาหารคนละประเภทกัน เนื่องจากในนมมีโปรตีนคุณภาพดีอยู่ในจำนวนมาก ดังนั้นวิธีการแยกเอาโปรตีนออกมาจากนม จึงทำโดยการเติมเอนไซม์เอนไซม์เรนนิน หรือ เรนเนต ที่สกัดได้มาจากกระเพาะสัตว์ และ ไคโมซิน เอนไซม์ที่สกัดได้มาจากแบคทีเรีย เมื่อใส่เอนไซม์เหล่านี้ลงไปในน้ำนมแล้วเอนไซม์จะทำหน้าที่ย่อยโปรตีน ส่งผลให้โปรตีนที่แขวนลอยอยู่ในนม แยกตัวออกมาจับตัวเป็นก้อน เรียกว่า เคิร์ด ก้อนโปรตีนหรือเคิร์ดที่ว่านี้ หากได้มาจากนมสดจะมีไขมันปนอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง หากได้มาจากนมขาดมันเนยหรือนมพร่องมันเนย ไขมันที่ติดมาจะมีน้อยลงจนแทบจะเป็นโปรตีนล้วนๆ เมื่อนำก้อนโปรตีนนี้มาบ่มกับแบคทีเรียอีกครั้งก็จะก่อให้เกิดเนยแข็งสารพัดชนิด แล้วแต่กระบวนการบ่ม ดังนั้นเนยแข็งจึงจัดเป็นอาหารจำพวกโปรตีนเหมือนเนื้อสัตว์

ความแตกต่างของเนยแข็ง

ความแตกต่างของเนยแข็งขึ้นอยู่กับ ประเภทและชนิดของน้ำนมที่นำมาใช้ในการผลิต ขึ้นอยู่กับประเภทของแบคทีเรียที่นำมาใช้ในการหมัก ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บ และยังขึ้นอยู่กับขั้นตอนวิธีการผลิตที่แต่ละชนิดจะมีวิธีการผลิตแตกต่างกันไป นอกจากนี้การเพิ่มส่วนผสมเช่น สมุนไพร เครื่องเทศ ยังเป็นการเพิ่มความหลากหลายให้กับเนยแข็งด้วย เนยแข็งเป็นอาหารที่มีประโยชน์หลายประการอีกทั้งยังเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวในการใช้ประทังความหิว เพราะสะดวกในการพกพา สามารถเก็บรักษาได้นาน ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะ โปรตีน แคลเซียม ไขมัน วิตามินบี 12 สังกะสีและฟอสฟอรัส นอกจากนี้เนยแข็งยังมีน้ำตาลแลคโตสในปริมาณที่ต่ำกว่าน้ำนม ดังนั้นการรับประทานเนยแข็งจึงส่งผลดีแก่ผู้ที่มีปัญหาในการดื่มนมอีกด้วย


ประวัติของเนยแข็ง
เนยแข็งนั้นเกิดด้วยความบังเอิญจากการเดินทางของชนเผ่าเร่ร่อนเบดูอินในทะเลทราย เนื่องจากชายอาหรับคนหนึ่งได้พยายามนำน้ำนมบรรทุกไว้บนหลังอูฐเพื่อใช้เป็นเสบียงอาหารระหว่างการเดินทาง จึงนำกระเพาะอาหารของแพะมาใช้เป็นภาชนะบรรจุน้ำนมไว้ภายใน ขณะที่เดินทางนั้นกระเพาะอาหารของแพะได้รับความร้อนจากอากาศในทะเลทรายและบวกกับการถูกเขย่าตลอดระยะทาง ส่งผลให้เอนไซม์เรนนินในกระเพาะสัตว์ไปแยกน้ำและไขมันในนมออกจากกัน เมื่อชายผู้นี้เกิดความกระหายหมายจะดื่มน้ำนมก็ต้องประหลาดใจเมื่อเค้าพบกับก้อนนมแทน ชายผู้นี้จึงนำก้อนนมที่ได้มาใช้รับประทานเป็นอาหารแทน และกลายเป็นที่มาของการผลิตเนยและเนยแข็งในปัจจุบัน
ในสมัยกรีกโบราณมีหลักฐานการบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลว่า อริสเตอุส บุตรชายแห่งเทพเจ้าอะพอลโลเป็นผู้ค้นพบวิธีการผลิตเนยแข็ง แต่ก็มีอีกหลายคนที่เชื่อว่าชนเผ่าเบดูอินเป็นผู้นำความรู้มาถ่ายทอดต่อให้กับโรมันโบราณอีกที อย่างไรก็ตามชาวโรมันถือว่าเนยแข็งเป็นอาหารประจำวันที่สำคัญ บ้านของชาวโรมันในสมัยโบราณจึงมีห้องสำหรับเก็บเนยแข็งทุกหลังคาเรือน ทหารโรมันเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลอย่างมากในการเผยแพร่เนยแข็งให้คนทั่วโลกได้รู้จัก เพราะเมื่อใดก็ตามที่กองทหารโรมันออกศึกไปที่ใด ทหารเหล่านี้มักจะแบ่งปันเนยแข็งส่วนหนึ่งให้กับทหารท้องถิ่นบริเวณนั้นด้วย ดังนั้นเนยแข็งจึงถูกเผยแพร่เป็นที่รู้จักไปทั่วยุโรป
ต่อมาในสมัยกลางบาทหลวงในคริสต์ศาสนาได้ผลิตเนยแข็งออกจำหน่ายเพื่อเป็นการหารายได้เข้าโบสถ์ ส่งผลให้โบสถ์เปลี่ยนสถานะจากที่เคยเป็นเพียงศาสนสถานมาเป็นแหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิตเนยแข็งด้วย หลังจากนั้นเป็นต้นมาเนยแข็งก็ได้รับการปรับปรุงรสชาติและกลิ่นไปตามความหลากหลายของวัตถุดิบในแต่ละท้องถิ่น จนก่อให้เกิดเนยแข็งแบบดั้งเดิม (Traditional Cheese) ที่จะมีเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ แต่เนื่องจากในแต่ละท้องถิ่นมีการผลิตเนยแข็งชนิดใหม่ๆออกมาอย่างสม่ำเสมอบวกกับในยุคนั้นเกิดการผลิตเนยแข็งในระบบโรงงานอุตสาหกรรมที่เน้นแต่ปริมาณผลผลิต วิธีการทำเนยแข็งแบบดั้งเดิมจึงค่อยๆสูญหายไป ปัจจุบันนี้มีเพียง หกประเทศเท่านั้นที่ยังคงรักษาวิธีการผลิตเนยแข็งแบบดั้งเดิมไว้อยู่ ได้แก่ ประเทศ อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ โดยเฉพาะในประเทศอิตาลี และฝรั่งเศส ที่มีระบบการันตีคุณภาพและมาตรฐานของเนยแข็งแบบดั้งเดิม ซึ่งช่วยรักษาเอกลักษณ์ของเนยแข็งมาจนถึงปัจจุบัน

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มะกอก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


ข้อมูลทางด้านอนุกรมวิธาน มะกอกโอลีฟจัดอยู่ในอันดับ Ligustrais วงศ์ Oleaceae ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกับ Janminum (Jasmin), Phillyrea, Ligustrum(privet), Syringa (lilac),Fraxinus (ash), Fontanesia และ Olea (olive) พันธุ์มะกอกที่จัดอยู่ในชนิด (species) Olea มีอยู่ 30 สายพันธุ์ด้วยกัน และพบอยู่กระจัดกระจายตามพื้นที่ต่างๆ บนโลกเรานี้ ในจำนวนนี้รวมมะกอกโอลีฟอยู่ด้วย ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Olea europaea L. สามารถจำแนกออกเป็นสองลำดับย่อยสปีชีส์ (sunspecies) ด้วยกัน คือ: oleaster ( wild olive tree) และ sativa ( olive ) จากข้อมูลล่าสุด Cifferi และ Chevalier เสนอให้มีการใช้ปัจจัยใหม่ๆ ในการจำแนกพันธุ์มะกอกโอลีฟตามหลักทางภูมิศาสตร์ โดยแบ่งตามลำดับย่อยของสปีชีส์ และสายพันธุ์มะกอกโอลีฟหรือ Olea europaea L. ไว้ดังนี้ * Euro-Mediterranean subspecies: - Sativa group ( O.sativa Hoffm and Link ) - Oleaster group ( O.loeaster Hoffm and Link ) สายพันธุ์นี้ให้ลูกมะกอกที่มีเนื้อหนา มีปริมาณน้ำมันสูง และลักษณะดออกออกเป็นช่อ * Laperrini subspecies : พบอยู่ทางฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของโมร็อกโกจนถึงไซรีไนกา (ลิเบียด้านตะวันออก) ให้ลูกมะกอกที่มีขนาดเล็ก ปริมาณน้ำมันน้อย และไม่อาจนำมารับประทานได้ * Cuspidata subspecies: เป็นสายพันธุ์ที่เกิดเองตามธรรมชาติในเทือกเขาหิมาลัย รวมทั้งพื้นที่อื่นๆ ในทวีปเอเซีย ให้ลูกมะกอกที่มีขนาดเล็ก มีปริมาณน้ำมันน้อย และมิได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง Chevalier เชื่อว่า oleaster เป็นพันธุ์มะกอกที่เกิดการกลายพันธุ์เพราะถูกนำมาเพาะปลูก จากการตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อใดที่ถูกปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติ ลักษณะของพืชป่าจะปรากฎ และลูกมะกอกก็มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นอีกด้วย เขาจึงพิเคราะห์แล้วว่ามะกอกโอลีฟทั้งสองพันธุ์ควรจัดอยู่ในกลุ่มของ sativa เหมือนๆ กัน
ต้นมะกอกโอลีฟที่โตเต็มที่มีระบบรากที่แผ่กระจายและตื้น เป็นรากซึ่งงอกออกมาจากส่วนล่างของลำต้น ความลึกของการหยั่งรากขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน ในพื้นที่ดินร่วนซุย รากสามารถหยั่งได้ลึกตั้งแต่ 10.15 ถึง 80 ซม. ความเติบโตตามแนวกว้างของต้นพืชนั้นจะเป็น 2-3 เท่าของรัศมีของส่วนยอดสุด โดยมีความสัมพันธ์ของระยะห่างของต้นพืชเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ลำต้นของมะกอกโอลีฟ จะมีลักษณะเป็นเช่นไรนั้นขึ้นอยู่กับการตัดแต่งเป็นสำคัญ เช่น เกี่ยวข้องกับการอนุบาลต้นไม้ และอุปกรณ์ที่ใช้ เป็นต้น ในพื้นที่หลายส่วนของประเทศสเปน พบว่าต้นมะกอกมีลักษณะที่ขึ้นเป็นกอ ในขณะที่ต้นมะกอกในประเทศอื่นๆ เกือบทั้งหมดเป็นลำต้นเดี่ยว ส่วนความสูงของต้นมะกอกนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การตัดแต่งกิ่ง กิ่งตอนที่นำมาปลูก และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งมีส่วนทำให้ความสูงของต้นมะกอกแตกต่างจากกันราว 1-2 เมตร ลำต้นของต้นมะกอกขณะที่ยังเล็กจะมีลักษณะเป็นลำต้นตรงมากกว่า ในณะที่ต้นมะกอกที่โตกว่ามีกิ่งก้านแตกใหญ่ดูคล้ายกับว่ามีกลุ่มกอที่ขึ้นอยู่รวมกัน



กิ่งใหญ่จะแยกออกจากลำต้น และแตกกิ่งก้านสาขาออกไปความหนาแน่นของกิ่งใบขึ้นอยู่กับการจัดวางผังในพื้นที่เพาะปลูกความอุดมสมบูรณ์ของดิน แหล่งน้ำ รวมทั้งการตัดแต่งกิ่ง ลักษณะกิ่งอ่อนของต้นมะกอกโอลีฟจะเป็นกิ่งเล็ก มีใบแน่นเป็นมัน เป็นประกอบที่เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม มีรูเปิดเล็กๆ ที่อยู่ใต้ใบเพื่อช่วยควบคุมการคายน้ำ ส่วนในเรื่องขนาดของใบ สีสันและการเรียงตัวนั้นมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ ตำแหน่งของตาใบและตาดอกจะอยู่ตรงหูใบ ช่อดอกซึ่งแตกออกมาจากตาอ่อนเมื่อปีกลายจะค่อยๆ ฟอร์มตัวเป็นช่อดอกที่มีก้านยาว ในแต่ละช่อมีตั้งแต่ 11 - 23 ดอก กลีบดอกมะกอกมีสีขาว เรียงกันเป็นสี่กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นทรงกระเปาะ ขนาดสั้น และมีสีเขียวอ่อน เกสรตัวผู้ทั้งสองอันมีก้านชูสั้นและรังไข่ที่อ้วนหนา มีอับละอองเรณูซึ่งเก็บละอองเกสรไว้มากมายอยู่ภายใน ; ส่วนที่คอยดักจับละอองเกสรมีลักษณะเป็นสองแฉกและมีขนอ่อน เมื่อเกิดการผสมพันธุ์ขึ้นในโพรงเกสรตัวเมียทั้งสองอัน ซึ่งภายในโพรงนี้มีถุงรังไข่แยกออกจากกัน โดยในแต่ละเซลล์จะมีเซลล์ไข่อยู่สองเซลล์ เซลล์ที่ได้รับการผสมแล้วจะฟักตัวเป็นผลเมล็ดเดี่ยวหรือโมโนสเปิร์ม ดอกมะกอกมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ซึ่งสามารถจะผสมกันและให้ผลให้เมล็ดต่อไป บางครั้งดอกมะกอกก็อาจจะไม่มีเกสรตัวเมีย จึงไม่ติดผลหรือบางดอกอาจจะไม่มีเซลล์ไข่ หรือเกสรตัวผู้ไม่สมบูรณ์ ผลมะกอกที่ได้ก็จะแกร็นและไม่สมบูรณ์เช่นกัน อย่างไรก็ตาม มีลูกมะกอกเพียง 2-3 เปอร์เซนต์ เท่านั้นที่มีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะเก็บเกี่ยวได้ ลูกมะกอกมีเมล็ดในเดี่ยว และมีรูปทรงค่อนข้างกลม อาจจะกลมน้อยหรือกลมมากแตกต่างกันไป ส่วนขนาดของผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ลูกมะกอกประกอบด้วยส่วนของเปลือกชั้นนอก ซึ่งสีจะเปลี่ยนไปเมื่อผลสุก เนื้อมะกอกเป็นส่วนที่มีปริมาณน้ำมันมากที่สุด ส่วนเมล็ดในของลูกมะกอกเป็นเมล็ดที่แข็ง ลักษณะยาว และมีตุ่มอยู่ตรงส่วนบนของเมล็ด ห่อหุ้มเมล็ดพันธุ์ที่อยู่ด้านใน ซึ่งพบว่ามีทั้งคัพภะ (embryo)และโภชนาสาร


วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตราแผ่นดินของฝรั่งเศส


ตราแผ่นดินของฝรั่งเศส ในปัจจุบันนี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2496 แม้ตราดังกล่าวจะไม่มีสถานะทางกฎหมายว่าเป็นตราแผ่นดินอย่างเป็นทางการเลยก็ตาม ดวงตรานี้เป็นตราที่ปรากฏการใช้ในปกหนังสือเดินทางของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีจุดกำเนิดจากการที่กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสกำหนดให้ใช้ตรานี้เป็นสัญลักษณ์สำหรับหน่วยงานทางการทูตของฝรั่งเศสนับตั้งแต่ พ.ศ. 2455 เป็นต้นมา ออกแบบโดยประติมากรชื่อ จูลส์-เคลมองต์ ชาแปล็ง (Jules-Clément Chaplain)
ในปี
พ.ศ. 2496 องค์การสหประชาชาติได้ขอให้ประเทศฝรั่งเศสส่งสำเนาภาพตราแผ่นดินของตน เพื่อจัดแสดงร่วมกับภาพตราแผ่นดินของชาติสมาชิกอื่นๆ ในห้องประชุมขององค์การสหประชาชาติ คณะกรรมการร่วมที่รัฐบาลฝรั่งเศสแต่งตั้งในการนี้จึงให้โรแบรต์ หลุยส์ (Robert Louis) นักออกแบบตราสัญลักษณ์ ทำการเขียนตราทางการทูตข้างต้นขึ้นใหม่ตามแบบของตราเดิม อย่างไรก็ตาม ตรานี้รัฐบาลฝรั่งเศสก็ไม่ได้ออกกฎหมายรับรองให้ใช้เป็นตราแผ่นดินอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

สัญลักษณ์ในตราดังกล่าวนี้ประกอบด้วย

-รูปโล่กว้าง ตอนปลายเป็นรูปหัวสิงโต ภายในบรรจุอักษรย่อ "RF" ซึ่งย่อมาจากคำว่า République Française อันเป็นชื่อของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในภาษาฝรั่งเศส
-ช่อใบมะกอก หมายถึง สันติภาพ
-ช่อกิ่งโอ๊ก หมายถึง ความยั่งยืน หรือความรอบรู้
-ขวานมัดหวาย (en:fasces) หมายถึง ความยุติธรรม

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2542 รัฐบาลฝรั่งเศสได้กำหนดตราสัญลักษณ์ใหม่สำหรับรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งได้รวมเอาคำขวัญของสาธารณรัฐ สีธงชาติ และรูปมารีแอนน์ ซึ่งเป็นรูปสัญลักษณ์เชิงบุคลาธิษฐานของสาธารณรัฐ (Republic's personification) เข้าไว้ด้วยกัน

ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส

ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Président de la République française) เป็นตำแหน่งสูงสุดฝ่ายอำนาจบริหารของประเทศฝรั่งเศสโดยมาจากการเลือกตั้ง และดำรงตำแหน่งเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐ จอมทัพ ผู้รับรองรัฐธรรมนูญและผู้ปกครองร่วมอันดอร์รา
ตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2391 (สมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2) ซึ่งทำให้ระบอบประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศสนั้น เป็นระบอบที่มีความเป็นมายาวนานที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปยุโรป จวบจนปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวทั้งสิ้น 23 คน ซึ่งทุกคนได้พำนักในปาเลส์ เดอ เลลิเซมาแล้ว
รัฐธรรมนูญในแต่สาธารณรัฐนั้น ได้กำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานาธิบดีแตกต่างกันไป ตั้งแต่
พ.ศ. 2502 เป็นต้นมา ประเทศฝรั่งเศสอยู่ในยุคสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ในระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบันคือ นิโกลาส์ ซาร์โกซี ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (Premier ministre français) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลและคณะรัฐมนตรีของประเทศฝรั่งเศส ส่วนประมุขแห่งรัฐของประเทศฝรั่งเศสคือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศฝรั่งเศสคือ ฟรองซัวส์ ฟียง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี นิโกลาส์ ซาร์โกซี เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
การตัดสินใจหรือกฤษฎีกาของนายกรัฐมนตรี เสมือนกับการตัดสินใจทั้งหมดของฝ่ายบริหาร มีหน้าที่สอดส่องดูแลระบบสภาในหน่วยการบริหารทั่วประเทศ (Conseil d'État) บางครั้งนายกรัฐมนตรีได้รับคำปรึกษาจากสภาก่อนจะประกาศใช้กฤษฎีกา
เป็นที่รู้กันว่ารัฐมนตรีแต่ละท่านต้องการปกป้องนโยบายและโครงการในกระทรวงของตน แต่ก็ยังติดอยู่ที่งบประมาณ ซึ่งนายกรัฐมนตรีนี้เองเป็นคนชี้ขาดในเรื่องเหล่านี้ แม้ว่าบางครั้งประธานาธิบดีจะมีนาจและอิทธิพลเหนือกว่าก็ตาม
เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลนโยบายของ
รัฐบาล เมื่อเกิดความผิดพลาดและล้มเหลวก็จะกลายเป็นคนที่ถูกประณามและตำหนิไปโดยปริยาย ผลที่ตามมาก็คือความนิยมที่มีสูงในช่วงแรกและลดฮวบลงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หลายคนคิดว่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการส่งเสริมความสำเร็จของประธานาธิบดี และยังเป็นที่โต้เถียงอย่างมากว่าเป็นตำแหน่งที่อันตรายเพราะความเป็นไปได้ของการลดความนิยม